เพลง Ständchen โดย Franz Schubert

เพลงนี้เป็นบทเพลงลำดับที่สี่ของบทเพลงชุด Schwanengesang ซึ่งชูเบิรท์ได้แต่งเอาไว้ในช่วงปี 1827 ถึง 1828 นำเอามาจากบทกลอนที่ประพันธ์โดย รุท์วิค เรลชตาบ์ (Ludwig Rellstab 1799-1860) นี่อาจถือได้ว่าเป็นเพลงที่ลือชื่อที่สุดของนักประพันธ์ผู้นี้แล้วก็ว่าได้ บทเพลงนี้เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานของหนุ่มสาว และแรงปราถนาอันท้วมท้น อีกทั้งเพลงนี้ยังมีทำนองที่คล้ายกับบทเพลง “Ellen Gesang” (Ave Maria) หนึ่งใน ‘เพลงดัง’ ของ Schubert อีกด้วย คำว่า Ständchen ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ serenade หรือ เพลงที่ชายหนุ่มมักที่จะร้องเพื่อเกี้ยวพาราสีสาวในยามค่ำคืนนั่นเอง


ความหมายเพลง:

Leise flehen meine Lieder
Durch die Nacht zu dir;
In den stillen Hain hernieder,
Liebchen, komm zu mir!
บทเพลงนี้ของเราได้ขับกล่อมอย่างแผ่วเบา
ผ่านราตรีนี้ไปเพื่อส่งถึงเธอ
ภายใต้หมู่ไม้ที่เงียบสงัดนี้
โปรดมาหาเราเถิด ยอดรัก!

Flüsternd schlanke Wipfel rauschen
In des Mondes Licht;
Des Verräters feindlich Lauschen
Fürchte, Holde, nicht.
เสียงเสียดสีของใบไม้เรียวบางต่างกระซิบกระซาบกัน
ภายใต้แสงจันทร์นี้
โปรดอย่าหวาดกลัวต่อปีศาจอันใด
ที่มาแอบลอบมองหาผู้ทรยศเลย ที่รัก!

Hörst die Nachtigallen schlagen?
Ach! sie flehen dich,
Mit der Töne süßen Klagen
Flehen sie für mich.
เธอได้ยินเสียงนกไนติงเกลร้องไหม?
อา! พวกมันขับร้องให้แด่เธอ
ด้วยเสียงร้องอันแสนหวานที่นกน้อยทำเพื่อเรา
จะขับกล่อมเธอเอาไว้

Sie verstehn des Busens Sehnen,
Kennen Liebesschmerz,
Rühren mit den Silbertönen
Jedes weiche Herz.
พวกมันเข้าใจในดวงใจที่เพรียกร้อง
ซึ่งเจ็บปวดต่อความรักนี้
นกน้อยต่างสงบหัวใจที่อ่อนไหวนี่
ด้วยเสียงที่แจ่มใสของพวกมัน

Laß auch dir die Brust bewegen,
Liebchen, höre mich!
Bebend harr’ ich dir entgegen!
Komm, beglücke mich!
โปรดให้เสียงนี้ไปอยู่ในอ้อมอกของเธอด้วย
ยอดรัก โปรดได้ยินเราเถิด
เราผู้ที่รอเธอด้วยดวงใจที่สั่นเทานี้
โปรดมอบความปรีดาให้แก่เราเถิด!


ฟังเพลง:

*กดปุ่ม CC เพื่อเปิดซับภาษาไทยนะคะ


เครดิต:

http://www.allmusic.com/composition/st%C3%A4ndchen-leise-flehen-meine-lieder-song-for-voice-piano-schwanengesang-d-957-4-mc0002448706

http://www.lieder.net/lieder/get_text.html?TextId=13393

เพลง Ave Maria ของ Caccini หรือของใคร???

คงมีใครหลายๆคนที่รู้จักบทเพลง Ave Maria เพลงที่มีซึ่งความไพเราะตามแต่ที่ผู้ประพันธ์แต่ละคนจะรังสรรค์เอาไว้อย่างมากมาย หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยท่วงทำนองของบทเพลงนี้ที่หลากหลายจากหลายหลากผู้ประพันธ์ หากแต่หนึ่งในนั้นจะต้องมีเวอร์ชั่นของ Caccini อยู่อย่างแน่นอน


Caccini เป็นใครกัน?

Giulio RoMI0003271352molo Caccini (กิวลิโอ โรโมโร่ คัคชินี) (1551 – 1618) เป็นนักประพันธ์ชาวอิตาลี ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคปลายเรเนซซองซ์ จนถึงยุคต้นของบาโรค โดยที่เขานั้นถือเป็นหนึ่งในผู้กำเนิดบทเพลงที่เรียกว่า ‘อุปรากร’ และหนึ่งในผู้ที่มีอิทธพลในการสร้างสรรค์เพลงยุคบาโรคอีกด้วย อีกทั้งเขายังเป็นบิดาของ Francesca Caccini (ฟรานเชสก้า คัดชินี) นักประพันธ์อีกด้วย

 

 

 


Ave Maria ใครคือผู้แต่ง???

ไม่มีใครรู้จริงๆเสียแล้วว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ที่แท้จริงของ Ave Maria เวอร์ชั่นนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าบทเพลงนี้ไม่ได้ออกฉายออกแสดงแก่สายตาคนทั่วไปจนถึงศตวรรษที่ 20! และแม้ว่าในปัจจุบันบทเพลงนี้จะถูกบรรเลง และขับร้องผ่านทั้งนักร้องนักดนตรีสายคลาสสิคจนถึงป๊อปอย่างมากมายก็ตาม แต่แท้จริงแล้วบทเพลงนี้กลับไม่เคยปรากฏให้เห็นหรือว่าออกแสดงจนถึงบรรเลงเลยจนกระทั่งปี 1970!!! ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่พอจะรองรับได้ก็คือ Ave Maria เวอร์ชั่นนี้ไม่ได้ถูกประพันธ์ขึ้นมาในก่อนหน้านั้นนั่นเอง

มีหลายคนถกเถียงกันว่า ผู้ที่ประพันธ์จริงๆแล้วนั้นคือ Vladimir Vavilov (วลาดิเมียร์ วาวิลอฟ์) นักประพันธ์ และ นักกีตาร์ชาวรัสเซีย ผู้ที่ได้บันทึกเสียงเพลงนี้ในปี 1972 โดยเขาได้ประกาศว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่ไม่รู้ชื่อของนักประพันธ์ ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้มีนักดนตรีผู้นึงกล่าวอ้างว่า Caccini เป็นผู้ประพันธ์เพลงนี้ โดยเขาเป็นหนึ่งในคนที่เคยแสดงร่วมกับ Vavilov


Caccini Vavilov หรือใคร?

จนถึงปัจจุบันก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครคือเจ้าของบทเพลงนี้อย่างแท้จริง แต่ไม่ว่าความจริงจะเป็นยังไงก็ตาม เราก็ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าบทเพลงนี้มีมนต์ขลังของมันอยู่ในตัวเสียแล้ว ไม่ว่าบทเพลงนี้จะมีอายุเพียงไม่กี่สิบปี หรือหลายร้อยปีก็ตาม เราก็เชื่อว่าบทเพลงนี้จะถูกส่งต่อไปในอีกสิบปีร้อยปีข้างหน้าอย่างแน่นอน


เครดิต:

http://www.classicfm.com/composers/giulio-caccini/music/ave-maria/#hQtfu60WwoBwFahQ.97

https://en.wikipedia.org/wiki/Giulio_Caccini

Ave Maria (Hail Mary) จากคำสวดแด่พระแม่สู่บทขับร้องจากสวรรค์

เพลงขับร้อง ‘Ave Maria’ มีอยู่มากมาย หลายเวอร์ชั่น หลากชื่อนักประพันธ์ ทำไมvบทเพลงนี้ถึงมีมากมายถึงขนาดนั้น? วันนี้เรามาลองย้อนเวลาค้นหาคำตอบของมันไปด้วยกันเถอะ!!!


Ave Maria คืออะไร?

Ave Maria หรือ Hail Mary แปลเป็นภาษาไทยคือ ‘ขอสักการะแด่พระแม่มารีย์’ เป็นบทสวดของผู้นับถือศาสนาคริสต์คาทอลิค เป็นบทสวดอ้อนวอน แก่พระแม่มารีย์ มารดาของพระเยซู โดยฐานของบทสวดมาจากเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลโดยแบ่งออกมาเป็นสองท่อน ก่อนที่จะมีการใส่ท่อนที่สามในเวลาต่อมา โดยในแต่ละท่อนมีที่มาจาก:

  1.  ลุค 1:28 ซึ่งบรรยายถึงการที่เทวทูตกาเบรียล ได้มาหา และอวยพรแก่พระนางมารีย์พรหมจารีผู้ซึ่งตอนนี้กำลังโอบอุ้มบุตรแห่งพระเจ้าอยู่
  2. ลุค 1:40-42 บรรยายถึงพระแม่มารีย์ซึ่งในขณะนี้ได้ตั้งครรก์ไปเยี่ยมเยียนญาติของพระนางนาม อลิซซาเบธซึ่งก็ตั้งครรก์เช่นกัน และเมื่อนางอลิซซาเบธได้ยินคำทักทายของพระแม่มารีย์ ทารกในครรก์ของนางก็ดิ้นไปมาด้วยความปิติ(ผู้ที่จะเป็นนักบุญยอห์นในภายหลัง) อลิซซาเบธจึงบอกแก่พระนางมารีย์ว่าเธอนั้นได้รับคำอวยพรจากทารกที่พระนางมารีย์กำลังโอบอุ้มอยู่ (ผู้ที่จะเป็นพระเยซูในภายหลัง)
  3. ท่อนสุดท้ายนี้ได้เพิ่มขึ้นมาในช่วงปี 1440 พรรณนาถึงความความศักดิ์สิทธ์ของพระนางมารีย์ และคำอ้อนวอนต่อพระนาง

เนื้อร้อง:

Ave Maria
อาเวมารีอา
ดูกร มารี

Gratia plena
กราซีอา เปรนา
ผู้ทรงน้ำใจดีงดงาม
 

Dominus tecum
ดอมีนุส เตกุม
พระเจ้าอยู่กับท่าน 

Benedicta tu in mulieribus
เบเนดิกตา ตุม อิน มูลีเอรีบุส
ผู้ซึ่งได้รับพรในหมู่สตรี


Et benedictus fructus ventris
เอ เบเนดิกตุม ฟรูตุส เวนตริส
และพรนั้นคือผลไม้ในพระครรถ์

Tui, Jesus
ตูอิ เยซู
เยซู

Sancta Maria
ซางตา มารีอา
มารีผู้ศักดิ์สิทธิ์ 

Mater Dei
มาแตร์ เดอี
มารดาแห่งพระเจ้า


Ora pro nobis peccatoribus
โอราโปร นอบีส เปกกาตอริบุส
ภาวนาเพื่อผู้ผิดบาปเรา

Nunc et in hora mortis nostrae
นูค, เอ อิน โฮรา มอร์ติส นอสเตร
บัดนี้และห้วงเวลาแห่งความตายของเรา 

Amen
อาเมน
สาธุ…

รายชื่อผู้ประพันธ์บทร้องโดยสังเขป:

  • F. Schubert (1797-1828) ประพันธ์ในปี 1825
  • G. Verdi (1813-1901)
  • L. Cherubini (1760-1842)
  • J. Brahms (1833-1897) ประพันธ์ในปี 1858
  • C. Gounod (1818-1893) ประพันธ์ในปี 1859
  • Giulio Caccini (1551-1618)/V. Vavilov (1925-1973) ประพันธ์ในปี 1970
  • N. Skipper (1951-) ประพันธ์ในปี 1998

 


เครดิต:

https://en.wikipedia.org/wiki/Hail_Mary#Latin_version

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C_(%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%B9)

http://study.com/academy/lesson/ave-maria-lyrics-meaning-composer.html

http://www.avemaria.mono.net/

http://www.dek-d.com/board/view/1240907/

เพลง “La donna è mobile” Duke of Mantua’s aria จากอุปรากรเรื่อง Rigoletto

“La donna è mobile” (ผู้หญิงนั้นช่างหลายใจ) เป็นบทเพลง canzone ของ ดยุคแห่งมานทัว ในตอนเริ่มต้นขององก์สามของอุปรากร Rigoletto (ปี 1851) ซึ่งถือว่าเป็นเพลงชื่อดังและโชว์ทักษะการร้องเพลงนักร้องเสียงเทนเนอร์อย่างมาก โดยนักร้องนาม Raffaele Mirate (ราฟฟาเอเล่ มิราเต้) ผู้ที่ได้ขับร้องเพลงนี้เป็นครั้งแรกของอุปรากรเรื่องนี้ได้รับเสียงชื่นชมอย่างท่วมท้น ซึ่งก่อนที่อุปรากรเรื่องนี้จะออกสู่สายตาของผู้ชม (ที่เมืองเวนิช) เพลงนี้ได้ถูกเก็บซ้อมเอาไว้อย่างลับสุดยอดด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นการป้องกันไม่ให้ใครรู้ เนื่องด้วยว่าเพลง “La donna è mobile” นั้นมีท่วงทำนองที่จับใจยิ่ง และหลังจากการแสดงในรอบปฐมทัศน์ นักแจวเรือแห่งเมืองเวนิชต่างก็พร้อมใจกันร้องเพลงนี้ทุกๆคน


 

จากองก์สามของอุปรากรภาษาอิตาลีเรื่อง Rigoletto โดย Giuseppe Verdi

 

  • ตัวละคร: The Duke of Mantua  (ดยุคแห่งมานทัว)
  • เสียง: tenor       Fach: lyric tenor
  • ฉาก: โรงเตี๊ยมของ Sparafucile
  • เนื้อเรื่อง: ดยุคได้ปลอมตัวเองเป็นทหารพร้อมกับร้องเพลงว่าผู้หญิงทุกคนต่างหลายใจกันทั้งนั้น และพวกเธอพร้อมที่จะทรยศทุกๆคนที่ตกหลุมรักพวกหล่อน

>>>>>>แนะนำให้ฟัง<<<<<<


 

La donna è mobile
Qual piuma al vento,
muta d’accento
e di pensiero.
ผู้หญิงนั้นไม่แน่นอน
ดุจขนนกที่ลอยปลิวอยู่ตามสายลม
พวกเธอเปลี่ยนทั้งน้ำเสียง
และความนึกคิดอยู่เสมอ!

Sempre un amabile,
leggiadro viso,
in pianto o in riso,
è menzognero.
มีทั้งความน่ารักอ่อนหวาน
และใบหน้าที่แสนงดงาม
แต่ไม่ว่าจะในยามหัวเราะ หรือร้องไห้
มันก็ไม่มีอะไรที่จริงอยู่เลย

La donna è mobil’.
Qual piuma al vento,
muta d’accento
e di pensier’!
ผู้หญิงนั้นไม่แน่นอน
ดุจขนนกที่ลอยอยู่ตามสายลม
พวกเธอเปลี่ยนทั้งน้ำเสียง
และความนึกคิดอยู่เสมอ!

 

È sempre misero
chi a lei s’affida,
chi le confida
mal cauto il cuore!
ช่างน่าสังเวช
เขาผู้ที่เชื่อใจในตัวเธอ
ผู้ที่วางใจในตัวเธอ
เขาผู้ไม่ระวังในหัวใจของตนเอง!

Pur mai non sentesi
felice appieno
chi su quel seno
non liba amore!
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผู้ที่ไม่เคยรู้สึก
ถึงความสุขอย่างเปี่ยมล้น
จากแม่ทรวดทรงอรชน
ผู้ที่ไม่เคยดื่มด่ำในความรัก!

La donna è mobil’
Qual piuma al vento,
muta d’accento
e di pensier’!
ผู้หญิงนั้นไม่แน่นอน
ดุจขนนกที่ลอยอยู่ตามสายลม
พวกเธอเปลี่ยนทั้งน้ำเสียง
และความนึกคิดอยู่เสมอ!


เครดิต:

http://www.aria-database.com/search.php?sid=8c0f2003a73c4b6b932e20471c7b65a2&X=1&individualAria=265

https://en.wikipedia.org/wiki/La_donna_%C3%A8_mobile

เพลง “O Colombina” Beppe’s aria จากอุปรากรเรื่อง I Pagliacci

เพลงจากองก์สองของอุปรากรอิตาลีเรื่อง I Pagliacci โดย Ruggiero Leoncavallo

  • ตัวละคร: Beppe นักแสดงในคณะ (เล่นเป็น Harlequin ในละคร)
  • เสียง: tenor       Fach: buffo tenor
  • ฉาก: บนเวทีแสดง ที่หมู่บ้านใน Calabria ประเทศอิตาลี ช่วงปี 1860s
  • เนื้อเรื่อง: Beppe ในบทของ Harlequin ร้องเพลงรักถึงตัวละครของ Nedda (Columbina) ป่าวประกาศถึงความรักของเขาที่มีต่อเธอ และขอให้เธอออกมา เพื่อพูดคุยกับเขา

>>>>>>แนะนำให้ฟัง<<<<<<


Ah! Colombina, il tenero
Fido Arlecchin
È a te vicin!
Di te chiamando,
E sospirando, aspetta il poverin!
โอ! Colombina ตัวตลกที่รัก
และ แสนซื่อสัตย์
ได้มาหาเธอแล้ว!
เขาทั้งเพรียกชื่อหาเธอ และถอดถอนใจ
คนน่าสงสารคนนี้กำลังรอเธออยู่!

La tua faccetta mostrami,
Ch’io vo’ baciar
Senza tardar
La tua boccuccia.
Amor mi cruccia e mi sta a tormentar!
เฉิดฉายดวงหน้าอันงดงามของเธอเถิด
เพื่อที่ฉันจะได้จุมพิต
รูปปากอันกระจิดริดนั่น
ได้ในทันท่วงที
ความรักนี่กำลังทรมานฉันอย่างโหดร้าย!

Ah! Colombina schiudimi
Il finestrin,
Che a te vicin
Di te chiamando
E sospirando è il povero Arlecchin!
อา! Colombina
เปิดหน้าต่างของเธอเพื่อฉันเถิด
ตัวตลกที่น่าสงสารของเธอ
กำลังรอคอยเธออยู่
ทั้งเพรียกชื่อหาเธอ และถอดถอนใจ!

A te vicin è Arlecchin!
ตัวตลกได้มาหาเธอแล้ว!


เครดิต:

http://www.aria-database.com/search.php?individualAria=596

http://www.murashev.com/opera/Pagliacci_libretto_English_Italian

 

เพลง Allerseelen โดย Richard Strauss

“Allerseelen” (อาลเลเซเล่น) (“วันฉลองพระวิญญาณ”) เป็นบทเพลงประเภท Lied ประพันธ์โดย Richard Strauss ในปี 1885 โดยนำมาจากบทกลอนของนักกวีชาวออสเตรีย Hermann Gilm (แฮร์มานน์ กิลม์) เพลงนี้ยังถูกจัดรวมอยู่ใน แปดเพลง song-cycle ของ ‘Letzte Blätter’  (Op. 10) อีกด้วย โดยเพลงนี้ได้ถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้ร้องร่วมกับวงออสเคสตร้าได้ในปี 1932 โดยวาทยากรชาวเยอรมัน Robert Heger (โรเบริต์ เฮเก้อร์)


ประวัติเพลง:

ในปี 1882  Ludwig Thuile (ลุดวิก ทุยเลอ) เพื่อนของ Strauss ได้แนะนำเขาให้รู้จักกับชุดบทกลอนของ Gilm คือ Letzte Blätter (ใบไม้ใบสุดท้าย) โดยได้ตีพิมพ์ออกมาในปีที่นักกวีได้เสียชีวิตลงคือในปี 1864 (อีกทั้งยังเป็นปีเกิดของ Strauss ด้วย) ซึ่งในนั้นยังมีบทกลอน Allerseelen รวมอยู่ด้วย ชุดเพลง Opus 10 นี้มีความตั้งใจที่จะแต่งไว้สำหรับนักร้องเสียงเทนเนอร์ และเพื่ออุทิศให้แก่ Heinrich Vogl (ฮาน์ริค์ โฟกล์) หัวหน้านักร้องเสียงเทนเนอร์แห่ง Munich Court Opera

บทกลอนของ Allerseelen ต่างเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศเยอรมัน โดย Strauss นั้นเขาได้เขียนเพลงแล้วเสร็จในวันที่ 3 ตุลาคม 1885 ในขณะที่อยู่ที่เมือง Meiningen ที่ๆเขาได้เริ่มต้นการเป็นวาทยากรครั้งแรกให้กับ Hans von Bülow (ฮาน์ ฟอน บูโลว์) เพลงนี้ได้ออกแสดงต่อสื่อมวลชนที่หอแสดงดนตรีของ Meiningen เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1886 (ร่วมกับเพลงสามเพลงในชุดเพลง Opus 10 (Zueignung, Nichts, และ Georgine) ขับร้องโดยนักร้องเสียงเทนเนอร์ Rudolf Engelhardt (รูดอลฟ์ เอนเกล์ฮารท์) ในขณะที่ Strauss ได้ตั้งใจที่จะแต่งเพลงนี้ให้กับเสียงเทนเนอร์ เขาก็ยังได้แสดงเพลงนี้พร้อมกับให้ภรรยาของเขา Pauline ขับร้องด้วย


แนวเพลง และอารมณ์ของบทเพลง:

การตีความในบทความนั้นมีความหลากหลาย  โดยวันฉลองพระวิญญาณคือวันที่ทุกๆปีผู้คนจะมารำลึกถึงคนรักที่ได้จากพวกเขาไป มีนักวิเคราะห์กล่าวว่า  “ตัวตนของนักร้องนั้นกำลังพยายามรื้อฟื้นถึงความรักความหลัง ซึ่งก็เหมือนกับสิ่งที่ได้ตายจากไปแล้วนั้นเอง” บางการตีความก็ไปในทางเรื่องเหนือธรรมชาติ เช่น คนรักที่ได้ตายจากไปพยายามสื่อสารกับคนร้องอยู่ หรือ กลับเป็นตัวคนร้องเสียเองที่พยายามสื่อสารกับคนรักที่จากไป


ความหมายเพลง:

Stell auf den Tisch die duftenden Reseden,
Die letzten roten Astern trag herbei,
Und laß uns wieder von der Liebe reden,
Wie einst im Mai
วางดอกมินยะเนทอันหอมหวนนั่นไว้ที่โต๊ะ
อีกทั้งแอสเทอร์ดอกสุดท้ายนั้นด้วย
เพื่อเราสองจักได้พรรณนาถึงความรักนั้นกันอีกครา
เหมือนเมื่อครั้งที่เราเคยในเดือนห้านั่น

Gib mir die Hand, daß ich sie heimlich drücke
Und wenn man’s sieht, mir ist es einerlei,
Gib mir nur einen deiner süßen Blicke,
Wie einst im Mai
ส่งมือมาให้เราเถิด เพื่อที่เราจักได้กักเก็บความลับนั้นเอาไว้
แลหากว่ามีใครที่เห็นมัน ก็จักมีเพียงแค่เราเท่านั้น
ขอเพียงแค่เธอส่งสายตาอันหวานฉ่ำนั่นมาให้เราก็เพียงพอแล้ว
เหมือนเมื่อครั้งที่เราเคยในเดือนห้านั่น

Es blüht und duftet heut auf jedem Grabe,
Ein Tag im Jahre ist ja den Toten frei,
Komm an mein Herz, daß ich dich wieder habe,
Wie einst im Mai.
ดอกไม้ที่บานสะพรั่ง ต่างส่งกลิ่นหอมไปทั่วทั้งสุสานนี้
แลมีเพียงวันเดียวในรอบปีเท่านั้นที่ความอาสัญนี้จักถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ
โปรดมาสู่ดวงใจเราเถิด เพื่อที่เราจักได้มีเธออีกครา
เหมือนเมื่อครั้งที่เราเคยในเดือนห้านั่น


ฟังเพลง:


ลำดับเพลงในชุดของ Letzte Blätter  (โน้ตเพลง )

  1. “Zueignung”
  2. “Nichts”
  3. “Die Nacht”
  4. “Die Georgine”
  5. “Geduld”
  6. “Die Verschwiegenen”
  7. “Die Zeitlose”
  8. “Allerseen”

เครดิต:

https://en.wikipedia.org/wiki/Allerseelen_(Strauss)

เพลง “Dalla sua pace” Don Ottavio’s aria จากอุปรากรเรื่อง Don Giovanni

จากองก์หนึ่ง ซีนสี่ ของอุปรากรอิตาลี Don Giovanni โดย Wolfgang Amadeus Mozart

  • ตัวละคร: Don Ottavio คู่หมั้นของ Donna Anna
  • เสียง: tenor     Fach: tenor leggiero
  • ฉาก: ชนบทใกล้กับปราสาทของ Don Giovanni
  • เนื้อเรื่อง: Donna Anna ได้ขอให้คู่หมั้นของเธอ Don Ottavio ล้างแค้นให้กับพ่อของเธอซึ่งได้ถูก  Don Giovanni ฆ่าไป หลังจากที่เธอจากไป Don Ottavio ก็ได้พรรณนาถึงความรักและความห่วงใยของเขาที่มีต่อเธอ

 >>>>>>แนะนำให้ฟัง<<<<<<


Dalla sua pace la mia dipende;                                                                                                                             ความสงบในใจของเธอก็เปรียบเสมือนของฉัน

Quel che a lei piace vita mi rende,                                                                                                                      สิ่งที่ทำให้เธอเป็นสุขจะมอบชีวิตให้แก่ฉัน

Quel che le incresce morte mi dà.                                                                                                                      สิ่งที่ทำให้เธอทุกข์ใจก็จะทำร้ายหัวใจฉันเช่นกัน

S’ella sospira, sospiro anch’io;                                                                                                                          หากเธอถอนหายใจ ฉันก็ถอนหายใจเช่นเดียวกัน

È mia quell’ira, quel pianto è mio;                                                                                                                    ความโกรธเกรี้ยว และความโศกเศร้าของเธอคือของฉัน

E non ho bene, s’ella non l’ha.                                                                                                                            แล้วฉันก็ไม่อาจเป็นสุขได้ นอกเสียจากเธอจะแบ่งปันมันมาให้ฉัน


.

เครดิต: http://www.aria-database.com/search.php?individualAria=86

Casta Diva…Fine al rito

Casta Diva, che inargenti
queste sacre antiche piante,
a noi volgi il bel sembiante
senza nube e senza vel…

Tempra, o Diva,
tempra tu de’ cori ardenti
tempra ancora lo zelo audace,
spargi in terra quella pace
che regnar tu fai nel ciel…


โอ เทพธิดาบริสุทธ์ ผู้ทรงห่อหุ้ม

พันธุ์ไม้โบราณอันศักดิ์สิทธิ์นี่
โปรดทรงหันพระพักตร์ของพระองค์แก่พวกข้า
โดยไร้ซึ่งสิ่งใดปกปิด เผยพระองค์ออกมาเถิด

สงบลงเถิด โอ เทพธิดา
ดับพระสุรเสียงอันกึกก้องของพระองค์

ดับความเหี้ยมหาญอันทรงพลังนั่น
โปรดโปรยหว่านเมล็ดแห่งสันติลงบนพื้นโลกเถิด
ขอพระองค์ผู้ทรงสถิตอยู่บนฟากฟ้านั่น

http://www.aria-database.com/cgi-bin/aria-search.pl?opera=Norma

 


			

Per pietà, bell’idol mio,

Per pietà, bell’idol mio,

non mi dir ch’io sono ingrato;
infelice e sventurato
abbastanza il Ciel mi fa.

Se fedele a te son io,
se mi struggo ai tuoi bei lumi,
sallo amor, lo sanno i Numi
il mio core, il tuo lo sa.


โปรดจงเห็นใจ แม่นางฟ้าผู้งดงาม

ฉันนั่นไม่ได้ไร้ซึ่งความซื่อสัตย์

มีแต่ความทุกข์ยาก หรืออัปมงคล

ดังที่สวรรค์ได้สร้างฉันมา
หากแต่ฉันนั้นยึดมั่นแค่เพียงเธอ
แลร้องหาแต่ดวงตาอันสุกสกาวของเธอ
ความรักนั้นรับรู้ได้ พระเป็นเจ้าก็เช่นกัน
หัวใจของฉันก็รับรู้ และของเธอก็เช่นกัน